วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แด่นักอนุรักษ์ภาษาไทย

บทความใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2545) คำมีคมว่าด้วย ภาษา วัฒนธรรม และอำนาจ (หน้า 23-29). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน

อาจารย์พงษ์ วิเศษสังข์ หัวหน้าภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ สร้างความปั่นป่วนให้เกิดแก่วงการผู้ประกาศตัวว่ารักษาภาษาไทย ด้วยคำอภิปรายของท่านว่า “เรื่องของภาษา วัฒนธรรมเป็นเรื่องไม่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อย ๆ ถ้าจะพูดถึงวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไม่ได้เลยต้องไปดูในพิพิธภัณฑ์”

เท่านั้นแหละครับ สนุกเลย

คุณดำรง พุฒตาล วุฒิสมาชิก ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าตัวทราบเรื่องดังกล่าวจากคำบอกเล่าอีกทีหนึ่ง และ “จากคำกล่าว (ของอาจารย์พงษ์) สามารถตีความได้ว่า ภาษาไทยเป็นเรื่องโบราณที่ต้องเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ น่าตกใจว่ากำลังจะทำให้โฆษก นักจัดรายการวิทยุ ไม่ระวังการใช้ภาษาไทย แสงว่าอาจารย์คนนี้ไม่ให้ความสำคัญกับภาษาไทย มองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ มองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่มั่นใจว่าอาจารย์ที่สอนทางนิเทศศาสตร์หลายสถาบันเป็นอย่างนี้ด้วยหรือไม่ ทำให้น่าห่วงมาก”

คนที่นำความมาบอกเล่าให้แก่คุณดำรงจะได้ฟังมาเองจริง ๆ หรือไม่ผมก็ไม่แน่ใจ แต่ถ้าตะแกบอกเล่าอย่างเที่ยงตรงจริงแล้ว ยังมองไม่เห็นทางที่คุณดำรงจะ “ตีความ” ไม่เลื่อนเปื้อนขนาดจับมากระเดียดอย่างนั้นได้อย่างไร

แต่ก็นั่นแหละครับ การตีความคำกล่าวใด ๆ ที่เราไม่เห็นด้วยให้เฉไฉไปจากที่เขากล่าวจริง ๆ เพื่อจะได้วิพากษ์วิจารณ์ความเห็นนั้นได้ถนัดถนี่เป็นสิ่งปรกติที่ทำกันในเองไทยเสมอ ๆ คือเป็นวัฒนธรรมที่ยังไม่เข้าพิพิธภัณฑ์ครับ

ที่อาจารย์พงษ์โดนด่าไปฟรี ๆ นั้นไม่สู้กระไรนัก แต่ที่สำคัญกว่าก็คือประเด็นที่ท่านเสนอไม่ได้รับการพิจารณา เพราะไม่ถูกหูผู้ฟังเสียแล้ว ลองถ้าเราตีอะไรที่ไม่ถูกหูให้ตกไปหมด จะเหลือประเด็นอะไรไว้ให้คนไทยได้คิดอีกเล่าครับ

ประเด็นของอาจารย์พงษ์ก็คือ ภาษาเปลี่ยนได้ ทำไมจึงต้องใช้ภาษให้เหมือนเดิมตลอดไป

ผมอยากเสริมด้วยว่า ภาษาไม่เพียงแต่เปลี่ยนได้เท่านั้น ยังต้องเปลี่ยนอย่างไม่มีทางไปหยุดยั้งมันได้เลยด้วยซ้ำ อย่างเช่นคำกล่าวของคุณดำรงเอง (ถ้าหนังสือพิมพ์ถอดเทปมาได้คำต่อคำ) ที่ว่า “ไม่ให้ความสำคัญ กับ ภาษาไทย” ก็เป็นการใช้บุพบทเปลี่ยนไปจากสมัยก่อน

ถ้าไม่จำเป็นภาษาไทยไม่ใช้บุพบท เช่น “กูให้มึง” แต่ถ้าจำเป็นดังคำกล่าวของคุณดำรง โบราณท่านพูดว่าให้ แก่ ไม่ใช่ให้ กับ ซึ่งแปลว่ามีคนอื่นมาร่วมให้ด้วย

แต่เดี๋ยวนี้ผมไม่ค่อยได้ยินหรือได้อ่านใครใช้บุพบทตามหลักโบราณอย่างนี้ และถ้าผมบอกว่าผมฟังคุณดำรงพูดไม่รู้เรื่อง ผมก็ดัดจริตเกินไป เพราะภาษาไทยเปลี่ยนไปจนผมน่าจะคุ้นกับความเปลี่ยนแปลงแค่นี้

อันที่จริงอย่าว่าแต่ผมเลยครับ ผมเชื่อว่าไปพูดอย่างคุณดำรงให้คนสมัยรัชกาลที่ ๔ ฟัง เขาก็รู้เรื่อง เพราะความหมายไม่ได้มาจากบุพบทตัวเดียวนี่ครับ มีคำและความแวดล้อมที่สมองมนุษย์สามารถเดาความหมายได้ไม่ผิดทั้งนั้น นอกจากนี้คนในสมัยนั้นก็ใช้บุพบทปะปนกันไปเหมือนเรานี่แหละ ไม่อย่างนั้นรัชกาลที่ ๔ ท่านจะทรงกำหนดการใช้ “กับ แก่ แต่ ต่อ” ให้รัดกุมในประกาศของท่านทำไม

เหตุใดภาษาจึง ต้อง เปลี่ยน ก็เพราะภาษาจำลองความคิด, ความรู้สึก และโลกทัศน์ของล่ะสิครับ และความคิด, ความรู้สึก และโลกทัศน์ของมนุษย์เปลี่ยนไปตลอดเวลา สิ่งที่จำลองเหล่านี้จะหยุดนิ่งกับที่ได้อย่างไร

สิ่งที่ผมอยากเห็นนักภาษาไทยทำ ไม่ใช่ขึ้นไปนั่งชี้นิ้วประกาศิตว่านั่นถูกโน่นผิด แต่ศึกษาเพื่ออธิบายให้เห็นความเชื่อมโยงของความเปลี่ยนแปลงทางภาษากับความเปลี่ยนแปลงด้านอื่น ๆ ของคนไทย ความรู้อย่างนี้จะทำให้เรามองเห็นว่าคนไทยกำลังเปลี่ยนไปในทิศทางใด หากจะห่วงก็ห่วงตรงนี้เถิดครับ เพราะถ้าเราอยากปรับแก้ความเปลี่ยนแปลง คงต้องคิดทำอะไรมากกว่าเพียงแต่เรียกร้องให้ใช้ภาษาไทยให้ “ถูก” อย่างแน่นอน

นักอนุรักษ์ภาษาไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าภาษาเปลี่ยนแปลงไปแต่ก็มักมีข้อแม้ว่าต้องเปลี่ยนไปในทางที่ตัวเห็นชอบเท่านั้น ไม่อย่างนั้นแล้วถือว่าเป็นภาษาวิบัติ

จึงเหลือแต่เทวดาไม่กี่องค์ที่เปลี่ยนภาษาได้ คนอื่นอยากเปลี่ยนก็เปลี่ยนตามกู ไม่งั้นวิบัติ

โชคดีที่ลักษณะอำนาจนิยมทางภาษาเถลิงอำนาจได้แต่ในโรงเรียนและสื่อของรัฐเท่านั้น หาได้มีอำนาจในสังคมส่วนส่วนอื่นไม่

ใครก็ตามที่เป็นคิดศัพท์ “ภาษาวิบัติ” ขึ้นมาใช้นี่เก่งจริง ๆ เพราะทำให้ใคร ๆ หวาดวิตกกันในเรื่องนี้อยู่เสมอ โดยไม่มีใครสักคนรู้ว่ามันหมายความว่าอะไรกันแน่

ซักไซ้กับบางคนก็นิยามง่าย ๆ ว่าภาษาวิบัติคือกลายเป็นภาษาตาย ไม่มีใครใช้อีกต่อไป เหมือนภาษาในโลกที่ได้ตายไปเป็นพันภาษาและกำลังตายอยู่ในทุกวันนี้อีกปีละหลายสิบภาษา

ทำไม ภาษาถึง “ตาย” ได้ ยังไม่มีคำอธิบายซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปเลย แต่การที่คนเลิกใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งในการสื่อสารนั้นมีปัจจัยที่สลับซับซ้อนมาก ทั้งไม่เป็นสากลเสียด้วย คือขึ้นกับเงื่อนไขในแต่ละกรณี

ฉะนั้น จะเอาเหตุการ “ตาย” ของภาษาหนึ่งไปอธิบายการ “ตาย” ของอีกภาษาหนึ่งไม่ได้ ยิ่งเอามาวางเป็นกฎให้ใช้ได้ชั่วกัลป์ปาวาสานยิ่งไม่ได้ใหญ่ เช่น การตายของภาษาก่อนยุคการพิมพ์และหลังยุคการพิมพ์มีปัจจัยที่แตกต่างกันมาก เป็นต้น

ที่พูดอย่างนี้เพื่อเตือนว่า ภาษาไทยก็คืออยู่ภายใต้อานุภาพของพระไตรลักษณ์ คืออาจตายเหมือนภาษาอื่นที่ตายไปแล้วก็ได้ โดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัตน์เช่นนี้

แต่ถ้าภาษาไทยจะ “ตาย” ก็คงมีเหตุที่ซับซ้อนกว่าเพียงเพราะนักร้องร้องเพลงไทยไม่ชัดแน่

นักอนุรักษ์ภาษาไทยบางคนอธิบายว่า “ภาษาวิบัติ” หมายถึงใช้ภาษาไทยสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง

ข้อนี้ประหลาดเสียจนไม่น่าเชื่อครับ

การสื่อสารกับคนอื่นเป็นความจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์เพราะเราเป็นสัตว์สังคม ถึงใครจะชอบใช้ภาษาพลิกแพลงอย่างไร ก็คงไม่มีใครอยากทำลายผลประโยชน์ที่มีความสำคัญเสมอด้วยชีวิตของตนเอง ด้วยการทำความวิบัติแก่เครื่องมือที่ตัวต้องใช้สื่อสารกับคนอื่น

จะขอข้าวใครกินล่ะครับ

แต่การสื่อสารระหว่างกลุ่มได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนั้นย่อมเกิดขึ้นเป็นเรื่องปรกติ อุปสรรคของการสื่อสารด้วยภาษาระหว่างกลุ่ม (สถานภาพ, ผลประโยชน์, ทางวัฒนธรรม, หรืออายุ ฯลฯ) มีในทุกภาษา ไม่ว่าจะเสื่อมหรือไม่ก็ตาม

นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ถึงภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารอันดีเลิศสักเพียงไหน มนุษย์เราก็มีความคิด, ความรู้สึก และโลกทัศน์ส่วนตนที่สลับซับซ้อนและมีลักษณะเฉพา เสียจนกระทั่งภาษาของคนทั่วไปไม่สามารถรองรับได้หมดจด

ไม่อย่างนั้นเราจะยกย่องวรรณคดีและกวีหรือครับ

ด้วยเหตุดังนั้น ความสามารถในการข้ามอุปสรรคของการสื่อสารจึงเป็นข้อได้เปรียบ คนรวยที่ฟังจนพูดแล้วเข้าใจและรู้สึกได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทำให้ชีวิตทางสติปัญญาของเขามั่งคั่งขึ้นแน่

คนแก่ที่ฟังภาษาวัยรุ่นได้รู้เรื่องตลอด อย่างน้อยก็ทำให้มีเพื่อคุยเพิ่มขึ้น เพราะไม่สร้างความรำคาญแก่วัยรุ่นที่ต้องคอยถามศัพท์อยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับวัยรุ่นที่สามารถอ่านงานของศรีบูรพาได้ซาบซึ้ง ย่อมทำให้ได้รับรสของความคิดและความรู้สึกที่แตกต่างจากประสบการณ์ปรกติในชีวิตของเขา

ก็ที่ส่งเสริมให้เรียนภาษาอังกฤษกันเหย็ง ๆ อยู่นั้น ไม่ใช่การเสริมสร้างความสามารถใช้ข้ามอุปสรรคของการสื่อสารด้วยภาษาหรอกหรือ

ตรงนี้แหละครับที่ผมคิดว่าความวิบัติไม่ได้เกิดกับภาษาไทยเท่ากับวัยรุ่นไทย เพราะจริงอย่างที่อาจารย์พงษ์กล่าวว่า วัยรุ่นไม่ฟังวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ เพราะใช้ภาษาไทยถึงใจ จะถึงขนาดฟังไม่รู้เรื่องจริงหรือไม่ผมไม่ทราบ

แต่ที่ผมเคยพบอยู่เสมอก็คือ วัยรุ่นไทยจำนวนมากบ่นว่าอ่านพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไม่รู้หรืออ่านพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๕ ก็ไม่รู้เรื่อง

ผมสังเกต (โดยไม่ได้ศึกษาเก็บข้อมูลจริง) ด้วยว่า ศัพท์วัยรุ่นซึ่งดูเผิน ๆ เหมือนมีมากนัก ที่จริงแล้ววงศัพท์ของวัยรุ่นซึ่งดูเผิน ๆ เหมือนมีมากนั้น แต่ก็ไม่ใช้หรือลืมศัพท์เก่าไปเสีย ซ้ำศัพท์ใหม่ที่สร้างขึ้นก็มักไม่ค่อยมีความหมายชัดแต่เป็นความหมายรัว ๆ ไปหมด

ผมสงสัยเสมอว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่วัยรุ่นไทยอยากจะพูดถึงอย่างชัดเจน, หรืองดงาม, หรืออย่างคมคาย, หรือให้แรงบันดาลใจ, หรือเบิกบานด้วยรสของคำบ้างเลยหรือ ไม่ว่าจะเป็นหนังสักเอง, เพลงสักเพลง, ครูสักคน, หรือแม้แต่ตัวของเขาเอง

อย่างนี้วัยรุ่นไทยก็วิบัติ เพราะไร้ความสามารถที่จะก้าวข้ามอุปสรรคของการสื่อสารทางภาษา ซึ่งเกิดขึ้นเป็นปรกติในทุกภาษา ซ้ำยังยากจนทางภาษาอีกด้วย วรรณคดีไทยก็ไม่เคยอ่าน ภาษาอังกฤษซึ่งมีวรรณคดีอันเลอเลิศก็เรียนกันเพียงไว้เป็นขี้ข้าฝรั่ง

ผมไม่ได้ต้องการชักชวนกันถล่มวัยรุ่นไทย แต่อยากชักชวนให้เรามาช่วยกันวิเคราะห์ว่า เราทำร้ายลูกหลานเราได้ถึงเพียงนี้อย่างไรต่างหาก

ข้อนี้เป็นส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์พงษ์ทั้งหมด เพราะผมไม่คิดว่าวิทยุกรมประชาฯ ไม่น่าฟังแก่วัยรุ่นเพราะภาที่มีลักษณะแบบแผน แต่คงมีเหตุอื่นๆ อีกมาก ซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่ในทางตรงกันข้าม ทำรายการให้น่าฟัง ด้วยภาที่เป็นแบบแผนก็น่าจะได้ เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายของการใช้ภาษาในก็มี

ภาษาที่หลากหลายต่างหากที่สำคัญ ถ้าทุกสถานีมีแต่ภาษาวัยรุ่นหมด โอกาสทางภาษาของวัยรุ่นก็แคบเหลือนิดเดียวสิครับ

ภาษาไทยของ พ.ศ.นี้ควรเป็นอย่างไร คงเถียงกันได้ไม่รู้จบ แต่ขอทีเถิดครับที่จะเรียกร้องให้คณะกรรมการ (กลิ่นตุ ๆ) กระจายเสียงแห่งชาติซึ่งจะเกิดขึ้น เข้ามาถืออำนาจบาตรใหญ่ชี้นิ้วสั่งให้กระดกลิ้น จีบปากจีบคอตามรสนิยมส่วนตัวของกรรมการอีกต่อไป

อย่าลืม ๒๐% ของคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นสมบัติของภาคประชาชนไปเสียนะครับ อย่าลิดรอนสิทธิของคนไทยส่วนใหญ่ ซึ่งพูดภาษากรุงเทพฯ ไม่ชัดต่อไปอีกเลย

6 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นของกลุ่ม 17

    "แด่นักอนุรักษ์ภาษาไทย"

    กลุ่ม 17 ใความคิดเห็นว่าภาษาไทยในทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ตามกลุ่มของผู้สื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น เด็ก ผู้ใหญ่ แต่โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นอย่างมาก จนทำให้นักอนุรักษ์หลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องภาษาไม่เว้นวัน ภาษาไทยในกลุ่มวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไปมากใช้คำสั้นๆกระทัดรัด เข้าใจได้เฉพาะวันรุ่น ไม่มีแบบแผนในการใช้ไม่มีความหมายที่ชัดเจน จนเดี่ยวนี้ทีการออกมารณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องอีกทั้งยังส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในสถานบัการศึกษาอีกด้วย
    การเปลี่ยนแปลงทางภาษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาษาแต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ภาษามากกว่า เพราะยุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ดังนั้นเราไม่อาจปิดการการเปลี่ยนแปลงทางภาษาได้ ควรจะชี้แนะแนวทางมากกว่าไปปิดกั้น ควรจะเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้สื่อสาร ฝึกหาภาษาที่หลากหลายขึ้น เพ่อการสื่อสารที่กว้างขวางยิ่งขั้นของทุกคน ดังนั้นการอนุกรักษ์ภาษาไทยที่ดีที่สุดคือการปลูกฝังให้คนไทยอ่านให้ถูกต้องและเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องดีกว่า

    ตอบลบ
  2. กลุ่มที่ 14


    ภาษาไทยของเรามีแบบแผนมาจนถึงทุกวันนี้ก็เพราะว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ตามยุคสมัย และความเหมาะสมของการใช้ภาษา รูปแบบ และตามโอกาส กาละเทศะ แต่มาจนถึงวันนี้ภาษาก็มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดเวลา มันไม่ใช่เป็นการปรับเปลี่ยนภาษาเพื่อให้ดีขึ้นมากเท่าใดนัก หากแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงภาษา ณ ปัจจุบัณนี้นั้นเป็นไปในทางที่หลาย ๆคนคิดว่ามันเข้าข่ายที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียในทางภาษา และเหตุผลที่เป็นอย่างนี้โดยส่วนมากทุกคนมองว่าเป็นปัญหาจากวัยรุ่นไทย โดยพูดประเด็นที่ว่า วัยรุ่นทำให้ภาษาไทย "วิบัติ" แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่มองว่าการที่ภาษาที่วัยรุ่นใช้นั้น บางครั้งก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด เพราะ ภาษา ควรมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่กระนั้นเราก็ไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางภาษานั้นดี หรือร้ายมากเพียงใด เพราะประวัติศาสตร์ไทยเรา ก็มีการเปลี่ยนแปลงภาษามาหลายครั้ง เช่นเดียวกัน
    แต่ ที่สำคัญที่สุดคือ การที่เราซึ่งเป็นคนไทยนั้น เราอย่าลืมว่าบรรพบุรุษเราได้สร้างภาษาขึ้นมา ก็เพื่อหวังให้เรานั้นได้มีภาษาที่นำมาใช้สื่อสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคม ฉะนั้นจงใช้ภาษาของเราเอง เพื่อที่คนต่างชาติจะได้รู้ว่านี่คือชนชาติไทย และนี่คือประเทศไทย

    ตอบลบ
  3. กลุ่มที่16 "แด่นักอนุรักษ์ภาษาไทย"
    มีความเห็นว่า เนื่องจากภาษาไทยในปัจจุบันนี้มีการใช้ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารผิดเพี้ยนไปในทางที่แย่ลง โดยเฉพาะวัยรุ่นซึ่งมีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย หรือการเขียน จะใช้คำที่แปลก อย่างเช่นการใช้ภาษาเขียนผิด ๆ แม้แต่คำง่าย ๆ ใช้คำไม่เหมาะสมกับภาษา เช่น วานนี้เทอจะปายไหน บางครั้งภาษาที่ใช้มันออกมาในแบบภาษาไทยก็ไม่ใช่ ฝรั่งก็ไม่เชิง ซึ่งทำให้นักอนุรักษ์หลายๆท่านได้ออกมาชี้แจงถึงภาษาที่ทุกคนใช้ในปัจจุบัน ซึ่งปัญหาเด็กไทยมีมากมายไม่ว่าการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้ภาษาไทยเท่าที่ควร
    ฉะนั้นเราควรจะสืบสานภาษาอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการพูด การอ่าน การเขียน ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากจนเกินไปไม่เช่นนั้นคนรุ่นหลังอาจจะมองภาษาไทยในทางที่แย่ลงไปกว่าเดิม เราทุกคนควรที่จะอนุรักษ์ภาษาไทยให้ถูกต้อง เพื่อคนรุ่นหลังจะยึดถือและปฏิบัติในทางที่เหมาะสม

    ตอบลบ
  4. กลุ่ม 8 เรียนรอบวันจันทร์ 3.00 -6.00 น.

    ความเป็นจริงในสภาพสังคมการใช้ภาษาไทย

    ส่วนใหญ่แล้ว ถ้าเป็นในสังคมผู้ใหญ่ หรือ ผู้ที่อยู่ในวัยมีวุฒิภาวะ

    เรื่องการใช้ภาษาไทย ก็จะยังยึดความถูกต้องเดิม ที่เป็นทางการ

    ไม่มีผิดเพี้ยนอะไรมาก แต่สำหรับ "สังคมวัยรุ่นใหม่" ต้องย้ำก่อน

    ว่านี้เป็นเด็กรุ่นใหม่จริงๆ เพราะ ถ้าจำไม่ผิด รุ่นคนที่เกิด 1934 ไป

    จะเริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลงในมากขึ้น ก็ให้เกิดกระแสหน่วงนำไป

    หาคนอื่นๆ ที่อยู่ในวัยเดียวกัน หรือ ต่ำลงไปอีก อาจเป็นเพราะความนิยม

    หรือว่า ความสนุกที่จะใช้ภาษาแบบนี้ แต่เรื่องนี้ มันก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ๋

    เพราะ ส่วนใหญ่ภาษาวัยรุ่นจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะ เมื่อถึงวัยที่พ้นความสนุก

    ไปก็จะเริ่มเข้าสู่ระบบภาษาทางการปกติ เนื่องจากสังคมที่มีวุฒิภาวะ ก็จะ

    หน่วงนำให้การใช้ภาษากลับไปสู่ความเป็นปกติ

    ตอบลบ
  5. กลุ่ม9
    มีความเห็นว่า..ในปัจจุบันการใช้ภาษาไทยถือว่าแย่มาก โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นไทยถือว่าเข้าขั้นวิบัติ มีการใช้ที่ผิดเพี้นยไปจากเดิมมาก บางทีพูดไทยคำฝรั่งคำ ขนาดว่าเขียนยังเขียนกันไม่ถูกเลย หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปประเทศไทยคงจะไม่มีภาษาที่เป็นของเราเอง การเปลี่ยนแปลงนี้จะไปโทษผู้ใช้อย่างเดียวก็ไม่ได้ มันเกี่ยวเนื่องกันหลายๆฝ่าย ซึ่งหากเราแก้ปัญหาตรงนี้ได้นั้น คนไทยทุกคนจะต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง

    ตอบลบ
  6. 1xbet korean sportsbook Review - Legalbet.co.kr
    1xbet korean sportsbook Review – How to bet, live 1xbet korea betting options, bonuses, live betting markets, sports betting odds and more.

    ตอบลบ